ประเพณีของภาคเหนือ (The Tradition Of The North)

                 ประเพณีของภาคเหนือ เกิดจากการผสมผสานการดำเนินชีวิต และศาสนาพุทธความเชื่อเรื่องการนับถือผี ส่งผลทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของประเพณีที่จะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ทั้งนี้ ภาคเหนือจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน จึงขอยกตัวอย่างประเพณีภาคเหนือบางส่วนมานำเสนอ ดังนี้

img19
สงกรานต์งานประเพณี ถือเป็นช่วงแรกของการเริ่มต้นปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์งานประเพณี โดยแบ่งออกเป็น

วันที่ 13 เมษายน  หรือวันสังขารล่อง  ถือเป็นวันสิ้นสุดของปี  โดยจะมีการยิงปืน  ยิงสโพก และจุดประทัดตั้งแต่ก่อนสว่างเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี  วันนี้ต้องเก็บกวาดบ้านเรือน และ ทำความสะอาดวัด

วันที่ 14 เมษายน  หรือวันเนา ตอนเช้าจะมีการจัดเตรียมอาหาร  และเครื่องไทยทาน  สำหรับงานบุญในวันรุ่งขึ้น  ตอนบ่ายจะไปขนทรายจากแม่น้ำเพื่อนำไปก่อเจดีย์ทรายในวัด  เป็นการทดแทนทรายที่เหยียบติดเท้าออกจากวัดตลอดทั้งปี

วันที่ 15 เมษายน  หรือวันพญาวัน เป็นวันเริ่มศักราชใหม่ มีการทำบุญถวายขันข้าว ถวายตุง  ไม้ค้ำโพธิ์ที่วัดสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุและรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ

วันที่ 16-17  เมษายน  หรือวันปากปีและวันปากเดือน  เป็นวันทำพิธีทางไสยศาสตร์  สะเดาะเคราะห์  และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ ชาวล้านนามีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตน เอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล โดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การสืบชะตาคน, การสืบชะตาบ้าน และการสืบชะตาเมือง

1poiloung

           ประเพณีปอยหลวง หรืองานบุญปอยหลวง เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคม ถือว่าเป็นการให้ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม

ช่วงเวลาจัดงานเริ่มจากเดือน 5 จนถึงเดือน  7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลา 3-7 วัน

gg4

           ประเพณีลอยโคม ชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้าย ๆ ต่าง ๆ ให้ไปพ้นจากตัว

n20120605141401_3475

            ประเพณีตานตุง  ในภาษาถิ่นล้านนา ตุง หมายถึง “ธง” จุดประสงค์ของการทำตุงในล้านนาก็คือ การทำถวายเป็นพุทธบูชา ชาวล้านนาถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อตายไปแล้วก็จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์พ้นจากขุมนรก วันที่ถวายตุงนั้นนิยมกระทำในวันพญาวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์

cdff873509a3a74251608c670710cabc

ประเพณีกรวยสลาก หรือตานก๋วยสลาก  เป็นประเพณีของชาวพุทธที่มีการทำบุญให้ทานรับพรจากพระ จะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ตนและอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการระลึกถึงบุญคุณของผู้มีพระคุณ และเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชน

kratong

ประเพณีลอยกระทงสาย เพื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท

tak0603_resize_resize

              ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า ประมาณเดือนมิถุนายน (หรือปลายเดือนพฤษภาคม) เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

เครดิต : http://www.chiangraifocus.com/2010/guide_book/kingmengrai/index1.php

ใส่ความเห็น