วัฒนธรรมของภาคเหนือ (Culture of the North)

          วัฒนธรรมทางภาษาถิ่น

ชาวไทยทางภาคเหนือมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวลไพเราะ ซึ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เรียกว่า “คำเมือง” ของภาคเหนือเอง โดยการพูดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่  ปัจจุบันยังคงใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน

วัฒนธรรมการแต่งกาย

การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น

download

           สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง มีความยาวเกือบถึงตาตุ่ม ซึ่งนิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงาม อาจห่มสไบทับ และเกล้าผม

           ส่วนผู้ชายนิยมนุ่งนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” “เตี่ยวสะดอ” หรือ “เตี่ยวกี” ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ ที่เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน หรือคอจีนแขนยาว อาจมีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า และมีผ้าโพกศีรษะ

ชาวบ้านบางแห่งสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกง สามส่วน และมีผ้าคาดเอว เครื่องประดับมักจะเป็นเครื่องเงินและเครื่องทอง

ผ้าพื้นเมืองของภาคเหนือ

ผ้าฝ้ายลายปลาเสือตอ จังหวัดนครสวรรค์

ผ้าไหมลายเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ผ้าพื้นเมืองเชียงแสน ลายดอกขอเครือ (เกี่ยวขอ)  จังหวัดเชียงราย

ผ้าตีนจก ลายเชียงแสน หงส์บี้ จังหวัดเชียงใหม่

ผ้าฝ้ายลายดอกปีกค้างคาว จังหวัดตาก

ผ้าไหมลายน้ำไหล จังหวัดน่าน

ผ้าฝ้ายลายนกกระจิบ จังหวัดพิจิตร

ผ้าฝ้ายมัดหมี่ลายดอกบีบ จังหวัดพิษณุโลก

ผ้าหม้อห้อม จังหวัดแพร่

วัฒนธรรมการกิน

ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการกินคล้ายกับคนอีสาน  คือ  กินข้าวเหนียวและปลาร้า  ซึ่งภาษาเหนือเรียกว่า  ข้าวนิ่งและฮ้า  ส่วนกรรมวิธีการปรุงอาหารของภาคเหนือจะนิยมการต้ม  ปิ้ง แกง หมก ไม่นิยมใช้น้ำมัน ส่วนอาหารขึ้นชื่อเรียกว่าถ้าได้ไปเที่ยวต้องไปลิ้มลอง ได้แก่ น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกอ่อง, น้ำพริกน้ำปู, ไส้อั่ว, แกงโฮะ, แกงฮังเล, แคบหมู, ผักกาดจอ ลาบหมู, ลาบเนื้อ, จิ้นส้ม (แหนม), ข้าวซอย, ขนมจีนน้ำเงี้ยว  เป็นต้น

หากอยากทราบอาหารรสเด็ดของชาวเหนือให้มากกว่านี้ สามารถรับบทเพลง ของกิ๋นคนเมือง ที่ขับร้องโดย คุณจรัล มโนเพ็ชร ที่อาจชวนให้ผู้ฟังคนหิวจนน้ำลายสอเลยล่ะ

          นอกจากนี้ ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยนำใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักได้ระยะเวลาที่ต้องการ จะนำใบเมี่ยงมาผสมเกลือเม็ด หรือน้ำตาล แล้วแต่ความชอบ ซึ่งนอกจากการอมเมี่ยงแล้ว คนล้านนาโบราณมีความนิยมสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วยมวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกจะเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า ขี้โย หรือ บุหรี่ขี้โย ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น เพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

เครดิต : http://travel.kapook.com/view68566.html

ใส่ความเห็น